พบ ดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลก ห่างออกไป 40 ปีแสง ความหวังใหม่ มนุษย์อาศัยอยู่ได้

Author:

เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ 2 ทีมได้ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกชื่อว่า Gliese 12b ที่มนุษย์อาจอยู่อาศัยได้ ขนาดใกล้เคียงโลก แต่ใหญ่กว่าดาวศุกร์ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ห่างออกไปแค่ 40 ปีแสง อุณภูมิพื้นผิวอยู่ที่ 42 องศาเซลเซียส
ตามรายงานการศึกษา 2 ฉบับที่ตีพิมพ์ลงใน The Astrophysical Journal Letters and Monthly ของสมาคมดาราศาสตร์ เผยว่า ดาวเคราะห์ที่เพิ่งค้นพบนอกระบบสุริยะนี้มีชื่อว่า ‘Gliese 12b’ โคจรรอบดาวแคระแดง มีขนาดประมาณร้อยละ 27ของดวงอาทิตย์

ภาพประกอบ

เนื่องจากดาวเคราะห์ดังกล่าวมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก ทำให้อยู่ในเขตเอื้ออาศัยของมนุษย์ได้ ซึ่งเป็นระยะห่างที่เหมาะสมที่สุดจากดาวฤกษ์ที่มีน้ำของเหลวอยู่ แม้ว่ามันจะโคจรรอบตัวเองทุกๆ 12.8 วันก็ตาม

อีกทั้งจากสมมติฐานที่ว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะไม่มีชั้นบรรยากาศ นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณอุณหภูมิพื้นผิวของมันให้อยู่ที่ประมาณ 42 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าใกล้เคียงอุณหภูมิโลกอย่างมาก

ขณะเดียวกัน ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์โครงการแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าวว่า เราค้นพบดาวเคราะห์ที่ขนาดใกล้เคียงโลกที่สุด และเขตอุณหภูมิที่เหมาะสมกับมนุษย์ ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญ

นอกจากนี้ ยังคงต้องค้นคว้าข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสภาพชั้นบรรยากาศของดาวเพิ่มเติมต่อไป เพื่อชี้ชัดลงไปว่า ดาวเคราะห์ดังกล่าวจะสามารถรักษาระดับอุณหภูมิที่ทำให้เกิดแหล่งน้ำหรือเหมาะสมจะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม ในการค้นพบดาวเคราะห์ Gliese 12b นักวิทยาศาสตร์รวบรวมข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจนอกระบบระหว่างเปลี่ยนผ่าน (TESS) ของ NASA โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ไว้สำหรับตรวจจับ ติดตามการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวฤกษ์นับหมื่นดวงทุกเดือน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานของการโคจรรอบดาวเคราะห์นอกระบบได้

ถึงแม้ว่าจะยังไม่รู้แน่ชัดว่าดาวดวงนี้จะมีชั้นบรรยากาศหรือไม่ แต่นักวิทยาศาสตรที่ค้นพบมองว่าดาวเคราะห์ Gliese 12b นี้ในฐานะของดาวศุกร์นอกระบบสุริยะ เพราะมีขนาดพอๆ กับดาวศุกร์ของเรา

ทั้งนี้ จากการค้นพบและตรวจสอบดาวเคราะดวงนี้ นักวิทยาศาตร์ก็ยังไม่สามารถใช้เป็นหลักรับประกันได้ว่า ดาวเคราะห์ Gliese 12b จะเป็นดาวเคราะห์ที่มนุษย์อย่างเราจะไปอาศัยอยู่ได้จริงหรือไม่ แต่ถือว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสำรวจค้นพบ

ซึ่งทางทีมนักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวดวงนี้ และชั้นบรรยากาศของมันต่อไปได้ในอีกหลายปีโดยอาศัยอุปกรณ์ชั้นสูงอย่าง กล้องโทรทรรศน์เจมส์เวบบ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *