พิธา เปิด 9 ข้อ ต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล

Author:

พิธา” แถลงแนวทางการสู้คดีล้มล้างการปกครอง ของพรรคก้าวไกล ระบุศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี กระบวนการยื่นคำร้อง กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมายวันนี้ (9 มิ.ย.2567) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีการสู้คดียุบพรรคก้าวไกล ที่อาคารอนาคตใหม่ โดย ย้ำว่า แนวทางการต่อสู้มีทั้งหมด 9 ข้อต่อสู้ 3 หมวดหมู่ กระบวนการ ข้อเท็จจริง และสัดส่วนโทษ เน้นไปที่ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของคดีเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เป็นการแสดงความคิดเห็นชี้นำสังคม ตามข้อกังวลของศาลธรรมนูญ

สำหรับแนวทางการต่อสู้ 9 ข้อ ประกอบด้วย

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี

2.กระบวนการยื่นคำร้อง กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3.คำวินิจฉัยของคดีเมื่อ 31 ม.ค.67 ไม่ผูกพันต่อคดีนี้

4.การกระทำที่ถูกกล่าวหาไม่เป็นการล้มล้าง ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์

5.การกระทำตามคำวินิจฉัย เมื่อ 31 ม.ค.67 ไม่ได้เป็นมติของพรรค

6.โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็นฉุกเฉิน ฉันพลัน และไม่มีทางอื่นแก้ไขในระบอบประชาธิปไตย

7.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค

8.จำนวนปีในการตัดสิทธิ์ทางการเมืองต้องได้สัดส่วนกับความผิด

9.การพิจารณาโทษต้องสอดคล้องกับกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่ถูกกล่าวหา

นายพิธา ยังชี้แจงเน้นไปที่แนวทางต่อสู้คดี 3 ข้อ คือประเด็นขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากการศึกษาของฝ่ายกฎหมายอย่างละเอียดแล้วศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจขอบเขตอำนาจพิจารณาคดีนี้ เพราะตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยุบพรรค และตัดสิทธิ์การเมือง

ส่วนประเด็นการยื่นคำร้องของ กกต.ที่พรรคมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจาก ผู้ถูกร้องคือพรรคก้าวไกล ไม่มีโอกาสรับทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และไม่มีการโต้แย้งหรือแสดงพยานหลักฐาน ซึ่งขัดต่อระเบียบที่่ กกต.ตราขึ้นเอง

อีกประเด็นหนึ่งคือกรณีคำวินิจฉัยศาลฯ เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2567 ไม่ผูกพันกับคำวินิจฉัยในคดีนี้ ซึ่งอาจจะมีคนคิดว่า ข้อเท็จจริงได้รับการวินิจฉัยแล้ว และด่วนสรุปว่าคำวินิจฉัยคดีก่อนผูกพันคดีนี้โดยอัตโนมัติ แม้แต่ กกต. ยังใช้คำวินิจฉัยนี้เป็นหลักฐานเดียวในการยื่นยุบพรรคก้าวไกล แต่ความเป็นจริงตามหลักการทางกฎหมายกรณีที่คำพิพากษาคดีหนึ่งจะผูกพันกับอีกคดีหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อหาเดียวกัน และระดับโทษใกล้เคียงกัน

ด้วยเหตุผล-ข้อเท็จจริงทั้งหมดคดีนี้จึงไม่มีความผูกพันกับคดีเมื่อวันที่ 31 ม.ค. และเห็นว่าต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีใหม่ ด้วยมาตรฐานการพิสูจน์ที่สูงกว่าคดีก่อน

นายพิธา ยังย้ำถึงกรณีโทษยุบพรรคว่า ต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีแก้ไขอื่น ซึ่งมาตรการยุบพรรค เป็นบทลงโทษที่มีได้ในระบบประชาธิปไตย เพื่อปกป้องประชาธิปไตย แต่ต้องไม่ลืมว่าพรรคการเมืองเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของประชาธิปไตย เป็นตัวแทนประชาชน ดังนั้นการยุบพรรคจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง และเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อไม่มีทางเลือกอื่น

นายพิธา ยังมั่นใจว่า สุดท้ายแล้วคดียุบพรรคก้าวไกลครั้งนี้จะเป็นโมฆะ เพราะขาดความชอบธรรม และยังแตกต่างจากคดียุบอนาคตใหม่ รวมทั้งคดียุบพรรคอื่นๆ ซึ่งดำเนินการตามระเบียบ ขั้นตอนของ กกต.มาตามกระบวนการ ซึ่งแตกต่างจากคดียุบพรรคก้าวไกลในครั้งนี้

ทั้งนี้การแถลงการณ์ของพรรคก้าวไกล เกิดขึ้นหลังจากศาลรัฐธรรมนูญ รับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา กกต.ยื่นคำร้อง อ้างอิงหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคก้าวไกล ใช้นโยบายหาเสียง ผ่านแก้ไขมาตรา 112 มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองฯ หรือ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมุข โดยนัดพิจารณาในวันที่ 12 มิ.ย.นี้
พิธา เปิด 9 ข้อ ต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล

พิธา เปิด 9 ข้อ ต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล

พิธา เปิด 9 ข้อ ต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล

พิธา เปิด 9 ข้อ ต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *